ถึงตอนนี้บางท่านคงได้เข้าไปดูวิดีโอที่ทางเราได้อธิบายเรื่อง if เพื่อที่จะนำมาใช้งานกับไอมาโครกันแล้ว การเรียนรู้เรื่องนี้ก็เพื่อที่จะนำมาใช้งานกับไอมาโคร บอกเลยว่าเรื่องนี้เป็นเรื่องที่สำคัญมากๆ สำหรับหลายคนที่กำลังสร้างเครื่องมือ เพื่อที่จะนำไปต่อยอดให้เรียนรู้ได้หลายหลายช่องทาง รวมถึงนำไปต่อยอดสำหรับการสร้างเครื่องมือให้เป็นออโต้มากที่สุด
เรื่องการสร้างเงื่อนไขถือเป็นเรื่องสำคัญที่จะกำหนดเส้นทางให้กับโปรแกรมได้ทำงาน
อธิบายการทำงานเรื่อง if เพิ่มเติม |
อธิบายการทำงานเรื่อง if เพิ่มเติม
ครั้งที่แล้วเราได้อธิบายตั้งแต่พื้นฐานของคำสั่งอีฟ รวมถึงการนำไปใช้งานและประโยชน์ที่จะได้รับ มาครั้งนี้เราก็จะมาแตกยอด และอธิบายให้เห็นภาพกันอีกสักครั้งหนึ่ง เพื่อที่คุณจะได้เข้าใจอย่างถ่องแท้ว่าคำสั่ง if มีความสำคัญอย่างไร ทำไมถึงต้องใช้คำสั่งนี้ การสร้างเครื่องมือเพื่อที่จะทำให้เครื่องมือสามารถตัดสินใจเองได้ จำเป็นจะต้องมีการกำหนดเงื่อนไขให้กับโปรแกรม มีหลายคำสั่งที่เราสามารถที่จะเรียกใช้งานได้
ทั้งหมดทั้งมวลเราเรียกกันเขียน javascript นอกจากคำสั่ง if นี้ ก็ยังมีคำสั่งอื่นที่เราสามารถทำเป็นตัวกำหนดเงื่อนไขได้
จริงอยู่ว่า อยากอธิบายทุกคำสั่งให้เห็นภาพกันแต่ก็คงจะมารวบยอดไม่ได้ วีดีโอแต่ละตัวเราได้แยก การเรียนรู้เอาไว้เป็นเรื่องเรื่อง เพราะว่าไม่อยากให้คุณสับสนการใช้งาน
ทั้งนี้ภายในวีดีโอยังแถมด้วยคำสั่งที่เอาไว้ใช้แปลงค่าตัวเลขเพื่อให้สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หาร ได้นั้นคือคำสั่ง parseInt() นั่นเอง ดูคำอธิบายในวีดีโอได้เลยครับ
ทั้งนี้ภายในวีดีโอยังแถมด้วยคำสั่งที่เอาไว้ใช้แปลงค่าตัวเลขเพื่อให้สามารถนำไปบวก ลบ คูณ หาร ได้นั้นคือคำสั่ง parseInt() นั่นเอง ดูคำอธิบายในวีดีโอได้เลยครับ
หากมีคำถามที่อยากจะถามหรือสงสัย เราอยากให้คุณทักทายเข้ามาไม่ว่าจะทางกลุ่ม facebook, fanpage facebook, ทางไลน์, ทางเมล, หรือแม้กระทั่งโทรศัพท์, เพื่อที่เราจะได้นำข้อมูลต่างๆ ที่คุณสงสัยมาอธิบายให้เห็นภาพได้ชัดเจนมากขึ้น ลำพังตัวเรา ตัวผมกับแม่ค้าอ้อม เราไม่สามารถเดาได้ว่าสิ่งที่เราแชร์ไป มันตอบโจทย์คุณมากน้อยแค่ไหน เราได้แต่คิดว่าสิ่งนี้คือปัญหาของเรา ที่เราเคยเจอมาก่อนแล้วเราก็อยากจะนำปัญหาดังกล่าวมาแชร์วิธีการให้เห็นภาพและแน่นอนว่าแต่ละคนย่อมเจอปัญหาไม่เหมือนกัน ดังนั้น หากคุณเจอประเด็นหาเจอข้อสงสัยเรื่องอะไรมาโครขอให้ทักทายเข้ามาได้เลยครับ
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น